หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

ตรวจจับแรงกดอย่างง่ายกับ Force sensor

 

<อ้างอิงจากวารสาร The Prototype Electronics ฉบับที่ 40>

UniconProject01-fig05

 

ลักษณะการทำงานของตัวตรวจจับแรงกด

01 

รูปที่ 1 ลักษณะโครงสร้างของตัวตรวจจับแรงกด FSR

   ตัวตรวจจับแรงกดหรือ force sensor มีหลายประเภท สำหรับงานในระดับนักเล่นนักทดลองที่นำมาเสนอนี้เป็นตัวตรวจจับแรงกดแบบค่าความต้านทานหรือ Force Sensing Resistor (FSR) ที่ใช้เทคโนโลยีฟิล์มโพลีเมอร์แบบหนา (Polymer Thick Film) โดยแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวตรวจจับจะลดลง เมื่อมีแรงกดมากระทำบนแผ่นตรวจจับ มีโครงสร้างของตัวตรวจจับแสดงในรูปที่ 1 ประกอบด้วยแผ่นสารกึ่งตัวนำแบบอ่อนที่เป็นตัวกำหนดค่าความต้านทานไฟฟ้าประกบเข้ากับแผ่นขั้วไฟฟ้าแบบอ่อน โดยมีแผ่นฉนวนแบบอ่อนคั่นกลาง ทำให้เกิดค่าความต้านทานไฟฟ้าขึ้นระหว่างขาต่อใช้งาน เมื่อมีการกดลงบนแผ่นขั้วนำไฟฟ้า จะทำให้เกิดการสัมผัสระหว่างสารกึ่งตัวนำกับขั้วไฟฟ้า ส่งผลให้ค่าความต้านทานไฟฟ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังแสดงกระบวนการทำงานในรูปที่ 2

02 

รูปที่ 2 การทำงานของตัวตรวจจับแรงกด FSR

ดังนั้นตัวตรวจจับแรงกดแบบนี้จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการรับรู้ว่า มีการกดเกิดขึ้นหรือไม่ เนื่องจากค่าที่ได้จากตัวตรวจจับเป็นการเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับพื้นที่ของการกด

ตัวตรวจจับแรงกด FSR ที่มีจำหน่ายหลักๆ มี 3 ขนาดดังรูปที่ 3

03

รูปที่  3 แสดงตัวตรวจจับแรงกด FSR ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย (www.inex.co.th )

การต่อวงจรเพื่อใช้งานกับบอร์ด Unicon

ในการใช้งานตัวตรวจจับแรงกดทั้ง 3 ขนาดจะเหมือนกัน มีเพียงผลการทำงานที่แตกต่างกันตามพื้นที่และความสามารถในการรับแรงกด  (ดูข้อมูลในรูปที่ 3 ประกอบ) สำหรับการอ่านค่าจากตัวตรวจจับแบบนี้จึงต้องต่อใช้งานในแบบวงจรแบ่งแรงดัน โดยต่อร่วมกับตัวต้านทานอีก 1 ตัว ดังรูปที่ 4 แล้วต่อสัญญาณจากตัวตรวจจับ FSR เข้าที่อินพุตอะนาลอกของบอร์ด Unicon ตามรูปที่ 5 ซึ่งมีการใช้บอร์ด JCON-PORT4 มาช่วยในการเปลี่ยนขั้วต่อสัญญาณ

04

รูปที่ 4 วงจรเชื่อมต่อเพื่อใช้งานตัวตรวจจับแรงกด FSR กับบอร์ด Unicon

05

รูปที่ 5 ตัวอย่างการเชื่อมต่ออุปกรณ์จริงเพื่อใช้งานตัวตรวจจับแรงกด FSR กับบอร์ด Unicon

เขียนโค้ด

โค้ดตัวอย่างสำหรับอ่านค่าของตัวตรวจจับแรงกด FSR แสดงในโปรแกรมที่ 1 อันเป็นการอ่านค่าจากอินพุตอะนาลอกขา 20 หรือ A2 ที่ต่อกับตัวตรวจจับแรงกด FSR จากนั้นนำค่าที่ได้มาแสดงผลที่จอ GLCD-XT ที่ติดตั้งบนบอร์ด Unicon

#include <unicon.h>
int val;
void setup(){    
glcdClear();
}
void loop(){ 
val=analog(2);  
glcd(0,0,"%d ",val);  
sleep(100);
}


โปรแกรมที่ 1 ไฟล์ Unicon_Force_Sensor.ino สำหรับอ่านค่าจากตัวตรวจจับแรงกด FSR ของบอร์ด Unicon


ทดสอบกันจะจะ


ในการทดสอบเมื่อยังไม่ได้กดลงบนตัวตรวจจับ ค่าที่วัดได้จะมีค่าเป็น 1023 เมื่อลองกดลงบนแผ่นตรวจจับเบาๆ ค่าที่อ่านได้จะลดลง จากการทดสอบเมื่อกดลงเบาๆ ค่าจะลดลงเหลือประมาณ 300 ถึง 400 เมื่อออกแรงกดเพิ่มขึ้น ค่าที่อ่านได้จะลดลง


6


รูปที่ 6 ทดสอบกดตัวตรวจจับแรงกด FSR เบาๆ ดูค่าที่อ่านได้บนจอ GLCD-XT ของบอร์ด Unicon


   นอกจากนี้พื้นที่ที่รับแรงกดมีผลกับค่าที่อ่านได้ด้วย ที่บริเวณกึ่งกลางของแผ่นตรวจจับจะให้การตอบสนองต่อการกดได้ดีที่สุด ถ้ากดที่ริมขอบและที่มุมของแผ่นตรวจจับ แม้ว่าจะกดด้วยแรงเท่าๆ กัน การตอบสนองจะน้อยกว่า นั่นคือ ค่าที่ได้จะลดลงเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการนำไปใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน









7.1 7.2
7.3

  (7.1) เมื่อกดที่กึ่งกลาง ได้ค่าประมาณ 340
  (7.2) กดที่ขอบบนด้วยแรงพอๆ กัน ได้ค่าประมาณ 635
  (7.3) กดที่มุมล่างด้วยแรงพอๆ กัน ได้ค่าประมาณ 722


รูปที่ 7 แสดงผลการทำงานของตัวตรวจจับแรงกดรูปสี่เหลี่ยมเมื่อกดลงบนแผ่นตรวจจับที่ตำแหน่งต่างๆ






8.1 8.2


รูปที่ 8 แสดงผลการทำงานของตัวตรวจจับแรงกดแบบกลมเมื่อกดลงบนแผ่นตรวจจับที่ตำแหน่งต่างๆ
  (8.1) เมื่อกดที่กึ่งกลาง ได้ค่าประมาณ 319
  (8.2) กดที่ขอบด้วยแรงพอๆ กัน ได้ค่าประมาณ 748


การประยุกต์ใช้งาน


  ในการนำตัวตรวจจับแรงกด SFR ไปใช้งานจะนิยมเป็นปุ่มกดแทนสวิตช์แบบเดิมๆ เพราะตัวตรวจจับแรงกดแบบนี้มีขนาดบาง จึงนำไปติดตั้งได้เรียบเนียนไปกับพื้นผิวได้ดี นำไปใช้เป็นปุ่มกดคล้ายปุ่มแบบสัมผัสได้

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สามารถตรวจสอบแรงได้มากสุดเท่าไหร่ครับ